วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561




Contemporary Fine Art photography

ภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัย



การถ่ายภาพ

ภาพถ่ายเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1827 ทีประเทศฝรั่งเศสในช่วงแรกๆยังไม่ได้การยอมรับว่าเป็นศิลปะ การถ่ายภาพแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Photography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า Phos หมายถึง Light ที่หมายความถึง แสง และคำว่า Graphein หมายถึง writing การเขียน ดังนั้น Photography (การถ่ายภาพ) จึงหมายความว่า writing with light ซึ่งก็หมายความถึงการเขียนด้วยแสงหรือ การทำให้เกิดภาพด้วยแสง (สุภาณี,สุมิตรา,2532)

ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้คำ จำกัดความว่า การถ่ายภาพ ว่า การถ่ายรูป คือบันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่นวัสดุใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ชักรูป ส่วนในพจนานุกรมแปล ไทย-ไทยของ อ.เปลื้อง ณ นครให้ความหมายการถ่ายรูปว่า ก. ถอดรูป, จำลองรูปด้วยวิธีฉายเงาบนกระจกหรือฟิล์ม ในส่วนของภาพถ่าย

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้คำ จำกัดความภาพถ่าย ว่า คือ รูปถ่าย อันได้แก่ ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบนแผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อให้รูปปรากฏ



ความร่วมสมัย



ความร่วมสมัยเป็นคำที่ใช้ เรียกศิลปะ ที่เกิดขึ้นในกลางทศวรรษที่ 50-60 เพื่อให้แยกออกจากศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) (สุธี 2548) โดยเรียกศิลปะในช่วงเวลาดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบันว่าศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art)



Contemporary Fine Art Photography



ที่มาของ ภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Fine Art Photography)



ภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Fine Art Photography) ในช่วงต้นทศวรรษที่ 60 มีการพัฒนารูปแบบ เฉพาะของงานศิลปะภาพถ่ายอย่างต่อเนื่องจาก กลุ่มF 64และ การถ่ายภาพแบบตรงไปตรงมา (Straight Photography) ในช่วงทศวรรษที่ 40 ประกอบการเกิด ขึ้นฟิลม์สีและการอัดขยายภาพสีที่ใช้งาน ได้สะดวกทำให้ศิลปินที่ใช้ภาพถ่ายเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ภาพสี

การแสดงภาพถ่ายสี เกี่ยวกับ การเดินทางในภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ของ William Egglestion ที่ พิพิฑภัณธ์ศิลปะสมัยใหม่(MOMA) ที่นิวยอร์ค ในปี1970 เป็นการจุดประกายและเกิดการโต้เถียงกัน อย่างกว้างขวางถึงรูปแบบของภาพถ่ายสีและเรื่องราวร่วมสมัยที่ Egglestionได้นำเสนอในงานนิทรรศการ

ในปี 1972 Stephen Shore ได้ใช้ภาพสีเสนอเรื่องราวของภาคตะวันตกของอเมริกา อีกครั้งและจัดแสดงในพิพิฑภัณธ์ ศิลปะสมัยใหม่(MOMA)อีกครั้ง โดยมีการแสดงภาพถ่ายสีของสิ่งของทั่วไป สภาพแวดล้อมรอบๆตัวและของใช้ในชีวิตประจำวันจำนวน 220 ภาพ

ในยุโรป Bernd & Hillar Becher ได้บันทึกภาพขาวดำของสถาปัตยกรรม ของอาคารและสิ่งก่อสร้างในยุคอุตสาหกรรมของเยอรมัน ในระหว่างปี 1960-70 จัดแสดงในลักษณะ เรียงเท่ากันทุกภาพในกรอบเดียวกัน มีลักษณะคล้ายการเก็บบันทึกข้อมูลของนักสำรวจในยุคก่อน พวดเขาสร้างภาษาใหม่ให้กับการถ่ายภาพโดยย้อนกลับไปถึงที่มาของภาพถ่าย ที่เชื่อมโยงระหว่าง ภาพและความคิด กับประวัติศาสตร์และชีวิตประจำวัน (Charlotte 2004) ภาพถ่ายของ Brend&Hillar ทำหน้าที่ 2 ประการ ได้แก่การนำเสนอสิ่งที่อยู่ในภาพซึ่งไร้ซึ่งอารมณ์ เป็นการบันทึกภาพในลักษณะของการ เก็บข้อมูล (Documenting) ทางเอกสารของโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ และการนำเสนอความเรียบง่าย ความเป็นระบบระเบียบที่ปรากฏในสถาปัตยกรรม ซึ่งผลงานชุดนี้ เป็นการนำแนวคิดพื้นฐาน ของความเป็นภาพถ่าย ที่มุ่งนำเสนอแนวคิดของตัวภาพถ่าย หน้าที่ และหลักการทางสุนทรีย์ใน ภาพถ่ายเองเป็นสำคัญ

















ภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Fine Art Photography)
 เป็น รูปแบบของการสร้างศิลปะ ในรูปแบบ ร่วมสมัยปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเทียบกับสื่อศิลปะอื่น นั้น ภาพถ่ายเป็นสื่อศิลปะที่มีอายุน้อยมาก เพียงราวสองร้อยปี แต่ก็เป็นสื่อที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย(Naomi 1984) มีการใช้ภาพถ่ายสร้างผลงานอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการที่ภาพถ่ายกลายเป็น องค์ประกอบหลัก ของสร้างผลงาน มากกว่าที่เป็นเพี่ยงส่วนประกอบ ของงานสื่อผสม

การศึกษาเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ ภาพถ่ายศิลปะ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ในดินแดนที่ไม่ได้เป็นเจ้าขององค์ความรู้อย่างในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะ เป็นสื่อที่ศิลปินเริ่มต้นไม่ต่างจากตะวันตกนานเท่าไรนัก สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ทั้งในทางเทคนิคและองค์ความรู้ นอกจากนี้ ภาพถ่ายยังเป็นสื่อที่ตรงไปตรงมาและสะท้อนสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยของภูมิภาคได้ จากการศึกษาและวิเคราะห์ผลงานภาพถ่ายศิลปะเหล่านั้น

ภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัย เป็นการนิยามภาพถ่ายที่ถูกใช้ในงานศิลปะ หรือเป็นสื่อที่ศิลปิน ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเป็นหลัก (Charlotte 2004) โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการถ่ายภาพ โดยมี

1. ภาพถ่ายบุคคล

2. ภาพถ่ายทิวทัศน์

3. ภาพถ่ายหุ่นนิ่ง

4. ภาพถ่ายสถาปัตยกรรม

5. ภาพถ่ายสารคดี

โดยการแบ่งในลักษณะนี้ก่อให้เกิดปัญหา เพราะผลงานศิลปะ หลายงานมีลักษณะของรูปแบบที่ซ้ำซ้อนกัน Charlotte Scott ได้จัดกลุ่มของภาพถ่ายศิลปะในหนังสือ The Contemporary Photography as Art จากเนื้อหาและหลักการทางสุนทรียภาพที่ ปรากฏในตัวผลงาน โดยแบ่งออกเป็น

1. Conceptual Photography

เป็นภาพที่เกิดจากการทำงานในรูปแบบของCoceptual Art ที่ภาพถ่ายเข้าไปเป็นส่วนประกอบหรือเป็นส่วนในการบันทึก กิจกรรมทางศิลปะเหล่านั้น

2. การประกอบสร้าง(Stage Photography)

ภาพถ่ายในรูปแบบของการสร้างวิธีการ ในการเล่าเรื่อง (Narrative Form) โดยมีลักษณะของการประกอบสร้าง การจัดฉาก ในรูปแบบต่างๆที่มีลักษณะราวกับ เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นจริง หรือสร้างสภาวะที่คลุมเคลือระหว่างความจริงกับการสร้างภาพ

3. ภาพถ่ายที่ไร้อารมรณ์ (Dead Pan)

นำเสนอโดยใช้สิ่งที่อยู่ในภาพเป็นตัวสร้างความหมาย หรือรูปแบบการเล่าเรื่อง(Narrative Form) ด้วยตัวเอง อันเป็นแนวทาสุนทรีย ของภาพถ่ายร่วมสมัย ที่ใช้ สิ่งที่ปรากฏในภาพ ตามสภาวะที่เป็น ไม่มีการสร้างอารมณ์ ในภาพ เพิ่มเติมด้วยเทคนิคและวิธีการทางการถ่ายภาพ มีลักษณะที่ไร้อารมณ์ ภาพถ่ายเป็นเพียงสื่อ แต่สาระสำคัญจะอยู่ในภาพ

4. ภาพของสิ่งของ และ ชีวิตสัมพันธ์ Daliy Life and Object

เป็นการใช้สิ่งของใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ นำมาเล่าเรื่อง ในรูปแบบของหุ่นนิ่ง Landscape cityscape เป็นการใช้ส่วนย่อยๆเพื่ออธิบายภาพใหญ่ ของสภาวะ สังคมร่วมสมัย

5. ชีวิตส่วนตัว(Intimate Life)

เป็นการใช้ภาพถ่ายเล่าเรื่องชีวิต ส่วนตัวของตัวศิลปินเอง โดยเริ่มต้นจากการ นำเสนอ ภาพของสังคมปิดของ Homosexual ในนิวยอร์คช่วงกลางทศวรรษที่ 80 โดยภาพจะ นำรูปแบบของการ Snap shot ภาพอัลบัมครอบครัว และการอัดรูปจากเครื่องอัดรูปอัตโนมัติ เป็นรูปแบบที่ได้กลายมาเป็นการ นำเรื่องที่ควรปกปิดส่วนตัวมาเปิดเผยในที่สาธารณะ(Public and Private)

6. สารคดีและข่าว (Documentary and Journalist)

เป็นภาพที่ได้อิทธิพลจากการนำเสนอ ภาพข่าวในสื่อต่างๆ เป็นการนำรูปแบบของ การถ่ายทอดความจริง จากสื่อ สารมวลชนมาสู่พื้นที่เฉพาะใน แกลลอรี่ในฐานะงานศิลปะ มีการสร้างภาพขนาดใหญ่ราวกับภาพเขียนในยุคศ.ที่17 เพิ่อสะท้อนวิธีชีวิตและเหตุการที่เกิดขึ้นรอบตัว

7. การกลับไปหาที่มาและตรวจสอบตัวเอ (Revice and revisit)
 เป็นการย้อนกลับไปเพื่อพิจารณาสภาพแวดล้อม รอบตัวและที่มาของตัวศิลปินผ่านภาพถ่าย ในรูปแบบของ การ Reproduce/Roll Play และการตั้งคำถามถึงอิทธิพลของความเป็นสากล ที่มีผลต่อแต่ละพื้นที่ของศิลปิน และรวมไปถึงการเชื่อต่อของศิลปินโลก (Globalization)


8. ดิจิทัลกับเรื่องราวใหม่จากการประกอบสร้าง (Digital and manipulation narrative)
 เป็นการนำ เทคโนโลยีการตัดต่อ และตกแต่ภาพมาสร้างงานภาพถ่ายโดยสร้างเรื่องราวสะท้อน สภาวะที่ปรับเปลี่ยนของศิลปินที่มีต่อสื่อใหม่ และเป็นการตั้งคำถามต่อตัวสื่อ เองเมื่อความจริงในภาพถ่ายเริ่มถูกตั้งคำถาม





























อ้างอิง



สุภาณี กอสุวรรณศิร,สุมิตรา ขันตยาลงกต, 2532, “จากอดีต...ถึงปัจจุบัน การถ่ายภาพ”, บริษัทสารมวลชน,กรุงเทพ
สุธี คุณาวิชยานนท์ 2544,”จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่” หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปกร, กรุงเทพ
ราชบัณฑิตยสถาน, 2530,”ศัพท์บัญญัติวิชาการถ่ายภาพ” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว,กรุงเทพ
บริษัทโกดัก(ประเทศไทย)1982, "ความสุขกับการถ่ายภาพ";ไดนิปปองการพิมพ์,ประเทศญี่ปุ่น,
Charllot Cotton, 2004 “ The Photography as contemporary Art” :Thames&Hudson, London,UK.
Naomi Rosenblum,1984 “A World History of Photography”, Revised Edition, Abbeville Press ,New York , USA,
Zhuang Wubin 2015 “Photography in Southeast Asia A Survey” : NUS Press, Singapores
การสืบค้นทาง Internet
http://hdl.handle.net/2027/spo.7977573.0003.207 (สืบค้น กุมภาพันธ์ 2561)
https://lasalle-sg.academia.edu/ClareVeal (สืบค้น กุมภาพันธ์ 2561)
https://quod.lib.umich.edu/t/tap/7977573.0001.202/--politics-and-identity-contemporary-photography-in-thailand?rgn=main;view=fulltext (สืบค้น กุมภาพันธ์ 2561

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558



การก้าวสู่โลกสมัยใหม่ของการถ่ายภาพ 

เมื่อการถ่ายภาพก้าวเข้าสู่ ศตวรรษที่ 20 ไปพร้อมๆกับการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และแนวคิดทางศิลปะ ภายใต้แนวคิดของยุคสมัยที่เรียกว่า สมัยใหม่ (Modernism) ซึ่งเกิดการท้าทายแนวคิดเก่าๆในห้วงเวลาที่ผ่านมา  สำหรับการถ่ายภาพ ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับในฐานะผลงานทางศิลปะเฉกเช่นงานทัศนศิลป์อื่นๆ แม้ว่าแนวทางการถ่ายภาพที่สำคัญอันได้แก่ แนวพิคทอเรียล ก็นับว่าเป็นเพียงการเลียนแบบภาพจิตรกรรมเท่านั้น จึงทำให้เกิดข้อคำถามขึ้นมาว่าอะไรคือหลักการที่สำคัญที่สุดของการถ่ายภาพ หรือเริ่มมีการมองหาความจริงแท้ (Authentic) ของการถ่ายภาพ ประกอบกับการคิดค้นฟิล์มที่ผลิตจากเซลลูลอยด์ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดที่เริ่มเป็นที่นิยมคือ ขนาด 35มม. ทำให้การถ่ายภาพแพรหลายเข้าไปสู่สังคมอย่างรวดเร็วและง่ายดาย นักถ่ายภาพจำนวนไม่น้อยสร้างสรรค์งานในรูปแบบ ที่ต่างไปจากเดิมโดยเฉพาะกลุ่มศิลปินที่เริ่มนำสื่อใหม่เข้ามาใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ที่มีกลุ่มลัทธิทางศิลปะเกิดขึ้นมากมาย

การสร้างและศึกษารูปทรง ของ คาร์ล บลอสเฟลดท์  (Kral Blossfeldt)  และ ความเหนือจริงของปารีสใน ภาพของยูจีน อาเช่ (Eugene Atget)

ในช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 การใช้ภาพถ่ายเพื่อเป็นเครื่องมือในการ บันทึกรูปแบบหรือเป็นหลักฐาน หรือเป็นการเก็บข้อมูล มีการใช้อย่างแพร่หลาย คาร์ล บลอสเฟลดท(Kral Blossfeldt ค.ศ.1856-1932) ประติมากรชาวเยอรมันใช้การบันทึก ภาพเพื่อศึกษารูปทรง ของพืช โดยนำส่วนต่างๆของพืช มาถ่ายภาพในระยะใกล้ และอัดขยายออกเพื่อศึกษารูปร่างรูปทรง ของพืช แต่เมือเขาบันทึกภาพเป็นจำนวนมากเขาก็ค้นพบ ว่าภาพถ่ายส่วนต่างๆ ของพืชเป็นสิ่งที่หน้าสนใจโดยตัวมันเอง  เขาจึงทำการรวบรวมภาพและตีพิมพ์หนังสือ Urformen der Kunst"(The original art) (ภาพที่ 116) นำเสนอภาพถ่ายของพืชที่เขาได้บันทึกไว้
คาร์ล บลอสเฟลดท ได้สร้างแนวทาง ของการถ่ายภาพที่มีจุดประสงค์ ที่ชัดเจน ไม่มีการสร้างอารมณ์ หรือการสร้างความหมายโดยใช้ เทคนิคการถ่ายภาพ ที่เรียกว่า Objective Photography  ซึ่งจะกลายเป็นแนวทางสำคัญของภาพถ่ายเยอรมันในเวลาต่อมา

pastedGraphic.png         pastedGraphic_1.png 
ภาพที่ 116 ภาพ ที่มีกำลังขยาย  6 เท่าของพืช โดย คาร์ล บลอสเฟลดท และหนังสือ Urformen der Kunst"(The original art)

pastedGraphic_2.png
ภาพที่ 117 ภาพที่มีกำลังขยาย 2 เท่าของพืช โดย คาร์ล บลอสเฟลดท( Galerie Wild, Colonge)

ในขณะที่ ยูจีน อาเช่ (Eugene Atget (ค.ศ.1857-1927)) ช่างภาพชาวฝรั่งเศส บันทึกภาพของปารีสอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็น อาคาร ถนน ตรอก ซอย หน้าต่างร้านค้า  ด้วยกล้องขนาดใหญ่ ภาพของเขามักจะถูกซื้อโดยศิลปินเพื่อนำไปเป็นแบบในการวาดภาพ ลักษณะของภาพจะเป็นภาพเมืองที่ว่างเปล่าไร้ผู้คน (ภาพที่ 118)  เนื่องจากเขาใช้เพลทกระจกขนาดใหญ่รุ่นเก่าที่ใช้เวลาในการบันทึกภาพนาน ภาพจึงมีบรรยากาศของเมืองที่ดูแปลกต่าง ภาพปารีสในมุมต่างๆ ของอาเช่ ไม่ได้เพียงแค่บอกว่าน่ีคือเมืองอะไร หากแต่จะส่ือสารกับผู้ชมถึงความรู้สึกของเขาที่มีต่อเมือง ในลักษณะที่เรียกกันต่อมาว่า “Subjective Photography” แมน เรย์ ศิลปินดาดาและเซอเรียลริส กล่าวถึงงานของ 
อาเช่ว่ามีความเหนือจริงในบรรยากาศของสถานที่ต่างๆที่เขาถ่ายภาพ ภาพของอาเช่กลายเป็น ฐานสำคัญให้กับช่างภาพที่สร้างสรรค์งานในรูปแบบของเซอเรียลลิส ที่มักจะนำภาพถ่ายมาสร้างงานศิลปะตามที่ตัวเองรู้สึก ต่อสิ่งต่างๆผ่านรูปแบบที่เป็นจริงของภาพถ่าย 
pastedGraphic_3.png
ภาพที่ 118 ปารีสที่ ที่ว่างเปล่าไร้ผู้คนของ อาเช่ (The Museum of Modern Art,New York)

pastedGraphic_4.png    pastedGraphic_5.png
ภาพที่ 119 ภาพของส่วนต่างๆของปารีสในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยอาเช่(The Museum of Modern Art,New York)

ภาพถ่ายในฐานะงานศิลปะสมัยใหม่

ในหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แนวคิดและความเชื่อแบบดั้งเดิมได้ถูกท้าทายเพราะ เพราะความโหดร้ายของสงคราม เกิดแนวคิดที่ต่อต้านความเชื่อเก่าๆนั่นก็คือ  ลัทธิดาดา ศิลปินในกลุ่มนี้คนหนึ่งที่ใช้การถ่ายภาพ เป็นสื่อหลักๆในการนำเสนอความคิดคือ แมน เรย์ (Man Ray (ค.ศ.1890-1976)) ชาวฝรั่งเศสเขาได้นำเทคนิคๆต่างๆที่เกิดขึ้นในการถ่ายภาพมาใช้งาน โดยมีความคิด ที่พยายามจะค้นหาสิ่งใหม่ ในงานชุดที่ชื่อ Rayo graph (ภาพที่ 120)  ที่เขาใช้เพียงการฉายแสงกับกระดาษอัดไวแสง และสิ่งๆต่างรอบตัวจัดวางลงบนกระดาษ ทำให้เกิดรูปร่างในระนาบสองมิติ เขาต้องการจะนำเสนอภาพถ่ายโดยไม่ใช้กล้องถ่ายภาพเพื่อแสวงหาหลักการที่แท้จริงของแสงที่ทำปฏิกิริยากับวัตถุ หรือการนำเสนอ แนวคิดของโลกในยุคจักรกลในอนาคตที่ ความสวยงามของสิ่งต่างๆรวมไปถึงมนุษย์ จะมีลักษณะเดียวกับวัตถุอุตสาหกรรม คือมีความมันวาว เขาจึงใช้เทคนิคการทำให้ ภาพมีความขาวจัดและมีลักษณะคล้ายกับผิวของอลูมิเนียมขึ้นเพื่อสะท้อนภาพของแนวคิดดังกล่าว ซึ่งในเวลาต่อมา แมนเรย์ ได้ทำงานในแนวคิดของลัทธิเหนือจริง โดยเขาพยามยามประกอบสร้างรูปทรงต่างๆในรูปแบบสามมิติแล้วนำเสนอในลักษณะ สองมิติ (ภาพที่ 121) สร้างความประหลาดให้กับผู้ชม ที่พยายามจะดูว่าน้ำตากับดวงตานั้นเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่


pastedGraphic_6.png pastedGraphic_7.png

ภาพที่ 120 ลักษณะของงาน Rayograph  และเทคนิคโซลาไรซ์ที่ทำให้ผิวคนมีลักษณะมันวาวแบบโลหะ (The Museum of Modern Art,New York)

pastedGraphic_8.png
ภาพที่ 121 ภาพ Larmes Tear ของ Man ray
(The Museum of Modern Art,New York) Copyright: © Man Ray Trust ARS-ADAGP

ในขณะเดียวกัน ช่างภาพชาวฮังกาเรียน อังเดร เคอเทส (André Kertész (ค.ศ.1894-1985)) กลับมีความชื่นชอบที่จะใช้รูปทรงของสิ่งของเรียบง่ายใกล้ตัว และไม่มีการจัดวางใหม่ ใช้เพียงการสร้างมุมมองผ่านการ บันทึกภาพอย่างตรงไปตรงมาที่ทำให้ สิ่งเหล่านั้นมีความน่าสนใจและสร้างรูปแบบที่ดูเหนือจริงแก่ผู้ชม การค้นคว้าหาวิธีใหม่หรือใช้เงาที่สะท้อนของแผ่นอลูมีเนียมเพื่อสร้างรูปทรงที่บิดเพี้ยนสร้างภาพที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา (ภาพที่ 122)

pastedGraphic_9.png  pastedGraphic_10.png
ภาพที่ 122 ภาพ the fork ของอังเดร เคอร์เทซ และการใช้ความบิดเบี้ยวในแผ่นอลูมิเนียมสะท้อนแสง ( Estate of André Kertész)


นอกจากนี้ยัง มีช่างภาพหรือศิลปินที่หันมาใช้ภาพถ่ายสะท้อนความรู้สึก ในอีกรูปแบบหนึ่งคือ โมโฮลี นากี (László Moholy-Nagy ค.ศ.(1895-1946)) ศิลปินชาวเยร์มัน ที่ใช้เรื่องของมุมมองที่ดูผิดแผกไปจากการมองในรูปแบบปกติ เช่นการใช้ภาพมุมต่ำมาก การสร้างภาพที่เอียงเกินกว่าปกติ และมีการนำเอาภาพในลักษณะต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกัน มาวางปะติดเข้าด้วย สร้างเทคนิคที่เรียกว่า โฟโต้ คอลลาจ (Photo collage) (ภาพที่ 123) โดยมักจะมีเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดของสังคมในเวลานั้นเป็นหลัก

pastedGraphic_11.png  pastedGraphic_12.png
ภาพที่ 123 โฟโต้คอลลาจ(Photo collage) ของ  โมโฮลี นากี László Moholy-Nagy
(The Museum of Modern Art,New York)

นอกจากนี้แล้วการพยายามแสวงหาภาษาภาพในรูปแบบต่างๆเพื่อสร้างความน่าสนใจมากกว่ารูปแบบที่เคยทำกันมาของช่างภาพโซเวียต อเล็กซานเดอร์ รอทเช็งโก (Alexander Rodchenko ค.ศ.(1891-1956)) ซึ่งเป็นศิลปินในกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มโซเวียต อาว็อง-การ์ด (Soviet Avant-garde) ที่มักจะใช้ ภาพปะติดเพื่อสร้างเนื้อหาใหม่และยังใช้ภาพมุมสูงมาก หรือต่ำมากเพื่อสร้างภาพที่ดูยิ่งใหญ่โดยเฉพาะภาพที่จะสะท้อนอุดมการณ์ สังคมนิยมของ พรรคคอมมิวนิสต์ โซเวียต 

pastedGraphic_13.png    pastedGraphic_14.png
ภาพที่ 124 ภาพ ภาพมุมสูงที่รอดเช็งโก ชอบใช้เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของ พรรคสังคมนิยม  (The Museum of Modern Art,New York)


pastedGraphic_15.png
ภาพที่ 125 โปสเตอร์ที่ใช้เทคนิคการปะติด ของรอคเช็งโก (The Museum of Modern Art,New York)

ในขณะที่ สหรัฐอเมริกาช่วงปลายทศวรรษที่ 20 อัลเฟรด สติกลิซ (Alfred Stieglitz (ค.ศ.1864-1946))ช่างภาพและศิลปิน ได้นำเสนอแนวคิดที่  เชื่อว่าภาพถ่ายควรมี สุนทรียศาสตร์เป็นของตนเองในรูปแบบที่เป็นลักษณะที่จริงแท้ เมื่อเขาได้เป็นบรรณธิการนิตยสารถ่ายภาพชื่อ  Camera Works ในอเมริกา เขาให้การสนับสนุนแนวทางที่แตกต่างไปจากความนิยมแบบ พิคทอเรียล ที่กำลังมีอิทธิพล ในอเมริกา เขาตีพิมพ์ผลงานของช่างภาพที่นำเสนองานในรูปแบบใหม่ๆ เช่นผลงานของ ช่างภาพศิลปินที่สร้างงานในรูปแบบของลัทธิ ฟอลมอลลิส(Formalist)อย่าง พอล แสตรนด์ (Paul strand ค.ศ.1890-1978) ที่ได้สร้างงานโดยใช้รูปทรงและรูปร่างของของสิ่งต่างๆที่บันทึกภาพเพื่อสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ในภาพแต่อย่างไร(ภาพที่126) ต่อมาในต้นทศวรรษที่ 30 แนวคิดของ สติกลิซ ได้นำไปสู่การตั้งกลุ่มของช่างภาพหลายคน ที่มีความเชื่อแบบเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า กลุ่ม F 64 อันหมายถึง รูรับแสงที่แคบมากของ กล้องขนาดใหญ่ที่จะส่งผลให้เกิดความคมชัดสูงสุด กลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ภาพถ่ายควรจะเคารพให้ตัวของความเป็นการถ่ายภาพเองอันได้แก่ ความคมชัดที่ออกมาจากการใช้เลนส์และฟิล์ม ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะต้องสร้างภาพถ่ายให้มีความนุ่มนวล คล้ายภาพเขียนในแบบพิคทอเรียล  ช่างภาพในกลุ่มนี้มีลักษณะการสร้างงานที่หลากหลายและมีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพทิวทัศน์ อย่าง แอนเซล อดัมส์ (Ansel Adams ค.ศ.1902-1984) (ภาพที่ 127) ผู้ซึ่งสร้างระบบการบันทึกภาพแบบ โซนซิสเท็ม(Zone System) ที่ทำให้ภาพถ่ายขาวดำสามารถบันทึกภาพและอัดขยายภาพที่เกิดน้ำหนักของภาพที่สมบรูณ์ที่สุด เขาบันทึกภาพทิวทัศน์ของอุทยานแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกาอย่างงดงามและปราณีตด้วยกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิลม์ขนาด 8x10นิ้ว  เพื่อให้เกิดความคมชัดที่สูงที่สุด ตามแนวทางของ กลุ่ม F 64  ด้วยความที่กลุ่มนี้เป็นการรวมตัวของช่างภาพที่ใช้แนวคิดเดียวกันแต่มีแนวทางการนำเสนอที่หลากหลายดังเช่น  เอ็ดวาร์ด เวสตัน (Edward Weston ค.ศ.1886-1958) (ภาพที่ 128) ใช้รูปทรงต่างๆของสิ่งของที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพืช ผัก เปลือกหอย หรือร่างกายของมนุษย์ มาบันทึกภาพเพื่อให้เกิดการมอง ที่เปิดมุมมองให้ผู้ชมจิตนาการได้อย่างไม่จำกัดมากกว่าที่จะพยายามมองว่าสิ่งเหล่านั้นคืออะไร
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การถ่ายภาพได้พยายามสร้างรูปแบบแนวคิดที่เป็นของตัวเองมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งเหล่านี้ทำให้แนวคิด ภาพถ่ายร่วมสมัยที่จะเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีลักษณะที่เด่นชัดและหลากหลายและเป็นที่ยอมรับในฐานะงานศิลปะที่แสดงความคิดโดยรูปแบบของตัวเองในที่สุด

pastedGraphic_16.pngภาพที่ 126  ภาพถ่ายของ พอล แสตรนด์ มักจะบันทึกภาพอย่างตรงไปตรงมา โดยให้รูปร่างรูปทรงของสิ่งต่างๆที่เขาบันทึกภาพ ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ (The Museum of Modern Art,New York)
pastedGraphic_17.png
ภาพที่ 127  ภาพ  Snake River ที่มีความคมชัดสูง ของ แอนเซล อดัมส์ (The Museum of Modern Art,New York)

pastedGraphic_18.png
ภาพที่ 128 ภาพ พริกหยวกที่ สร้างการมองได้หลายรูปแบบของ เอ็ดวาร์ด เวสตัน (The Museum of Modern Art,New York)