วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

       ภาพหนึี่งภาพแทนคำนับพันเราคงคุ้นกับคำนี้และเข้าใจความหมายกันเป็นอย่างดีแต่เคยสงสัยไหม ครับว่าภาพที่สามารถแทนคำพูดพันคำได้นี่เป็นอย่างไร ภาพภาพหนึ่งย่อมมีความหมายในตัวเอง แต่การที่จะนำเสนอความหมายให้ลึกซึ้งกินใจ สวยงาม และสื่อความหมายได้นั้น นักถ่ายภาพก็ย่อมต้องมีฝีมือ ชั้นเชิงและวิธีคิดหน่อย ชั้นเชิงเหล่านี้มันมีอะไรบ้าง
เราจะมาดูกันว่าช่างภาพแต่ละคนมีวิธีคิดวิธีสร้างสรรค์งานอย่างไร

ภาพถ่ายนี่เกิดมาได้ไม่นานเมื่อเทียบกับ ทัศนศิลป์อื่นๆก็เกือบๆ 200 ปี จากวันที่นักวิทยาศาสตร์ชาว ฝรั่งเศษซื่อ JOSEPH NICEPHORE NIEPCE ที่พยายามค้นคว้าหาทางบันทึกภาพเหมือนกับตาเห็น ในวันที่อากาศแจมใสปีค.ศ.1826 เอาแผนโลหะเคลื่อบสารเคมีวางไว้หลังกล้องที่หันออกหน้าต่างห้องทำงานของเขา แล้วลืมไว้ 8 ชั่วโมง พอกลับมาดูก็เลยได้ภาพที่ถูกบันทึกไว้เป็นภาพแรกของโลก
เพิ่มวิดีโอ




View from the window at Gras

เรียกกันภายหลังว่า View from the window at Gras หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็เอาใหญ่ครับ คิดค้นวิธีการต่างๆโดยใช้พื้นฐานของคุณ เนียซ์พ จนเกิดระบบการบันทึกภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆมาจนปัจจุบัน
พอมีการถ่ายภาพซึ่งเป็นของใหม่ของโลก และยังสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้การถ่ายภาพแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วครับลองคิดดูนะครับ ภาพถ่ายเกิดในช่วงกลางรัชกาลที่3 พอช่วงปลายๆรัชกาลการถ่ายภาพก็มาถึงเมืองไทยแล้วครับ เรื่องการถ่ายภาพกับเมืองไทยนี่สนุกครับเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังอีกที่ครับ
ด้วยความที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์ ภาพถ่ายในยุคแรกๆจึงไม่คำนึงถึงเรื่องความงามทางศิลปะมากนัก ลำพังเอาแค่ถ่ายให้คมชัดนี่ก็ยากเย็นมากแล้ว ศิลปินเองก็ไม่ยอมรับภาพถ่ายว่าเป็นงานศิลปะ เป็นเพียงเครื่องมือช่วยบันทึกเท่านั้นหาได้มีความคิดและการใช้ฝีมือที่ละเอียดอ่อนแต่ว่าภาพถ่ายก็ถูกใช้งานโดยกลุ่มคนต่าง มากมายไม่ว่าจะเป็นภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์ อย่างไรก็ตามด้วยความที่คิลปินเป็นคนช่างสังเกตุและสนใจใคร่รู้สิ่งใหม่ๆเลยมีศิลปินบางคนที่พยายามที่จะนำ เอางานภาพถ่ายมาสร้างเป็นงานศิลปะ
Oscar Rejlander เป็นศิลปินชาวดัทช์ทีี่ทำงานอยู่ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษที่ เหมือนกับคนในยุคสมัยของเขาที่เป็นจิตรกรมาก่อนเขามีความเห็นว่าภาพถ่ายจะเป็นเหมือนเคร่ืองมืออันใหม่ให้กับศิลปินในการสร้างสรรงานศิลปะจึงสร้างภาพที่นำเสนอทารกยื่นพู่กันให้กับมือของผู้ใหญ่ที่ยื่นเหรียนมาแลก เปรียบเสมือนการถ่ายภาพที่เป็นสิ่งใหม่ที่พึ่งเกิดเหมือนทารกจะกลายเป็นเครื่องมือใหม่ให้กับศิลปิน เพียงแค่ศิลปินต้องจัดหาหรือแลกมันมา













คุณ ออสการ์ ชอบใช้เทคนิดการซ้อนภาพครับ สมัยนั้นทำยากเย็นมาก ด้วยเทคนิคนี้ เขาเลยได้สร้างงาน ที่ถือว่าเป็น มาสเตอร์ พีช ชิ้นแรกๆของภาพถ่ายในเชิงศิลปะ






The Two Way Of Life

ภาพ The Two Way Of Life เป็นภาพที่ต้องการจะบอกถึงวิถีชีวิต ที่สองทางเลือก สำหรับคนหนุ่มสาว ทางที่เต็มไปด้วยการแสวงหาความรู้และการทำงาน หรือเส้นทางแห่งความเหลวไหลจากความมัวเมาในโลกียะ โดยมีการนำเสนอในลักษณะแบบละครเวทีเขาสร้างภาพจากภาพกลุ่มของนักแสดงที่เขาถ่ายไว้เป็นกลุ่มแล้วนำ มาซ้อนกันประกอบเป็นเรื่องราว ภาพนี้เมื่อนำออกแสดง ผู้ชมต่างตกตะลึงในความเหมือนจริงในแบบที่ภาพเขียนไม่สามารถทำได้ ประกอบกับเรื่องราวที่สื่อสารอย่างมีชั้นเชิง ทำให้มีการสั่งให้สร้างภาพนี้ขึ้นอีก 31 ก๊อปปี้ และเจ้าชายอัลเบิตร์ พระสวามีของพระนางเจ้าวิคตอเรีย ก็ทรงซื้อไปเป็นพระองค์แรก ก็นับได้ว่าเป็นภาพถ่ายแรกที่ถูกซื้อในฐานะงานศิลปะ ภาพนี้ปัจจุบันจัดแสดงในห้องนิทรรศการถาวรของ พิพิทภัณฑ์วิคตอเรีย อัลเบิตร์ (Victoria&Albert Museum[V&A Museum]) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
จะเห็นได้ง่ายๆนะครับว่า ภาพถ่ายนี้ได้ยกระดับการสร้างสรรค์ การสื่อความหมายของภาพถ่ายในฐานะ งานศิลปะภาพถ่ายเชิงศิลป์นี้มักจะทิ้งประเด็นหรือเรื่องราวให้ได้คิดต่อเสมอ ภาพ The Two Way Of Life เมื่อเกือบ200ปีที่แล้วก็ยังคงทิ้งประเด็นให้กับคนรุ่นหลังได้คิดต่อว่าเราจะเลือกเดินทางไหนที่จะเป็นผลดีต่อชีวิตเรา
พิจักษณ์ ทนันชัยบุตร เมษายน 2552