วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ศิลปะกับการถ่ายภาพในยุคแรก Art and photography

ศิลปะกับการถ่ายภาพในยุคแรก Art and photography 
ภาพถ่ายในยุคแรกๆจึงไม่คำนึงถึงเรื่องความงามทางศิลปะมากนัก ลำพังเอาแค่ถ่ายให้คมชัดนี่ก็ยากเย็นมากแล้วศิลปินเองก็ไม่ยอมรับภาพถ่ายว่าเป็นงานศิลปะเป็นเพียงเครื่องมือช่วยบันทึกเท่านั้นหาได้มีความคิดและการใช้ฝีมือที่ละเอียดอ่อน แต่ว่าภาพถ่ายก็ถูกใช้งานโดยกลุ่มคนต่าง มากมายไม่ว่าจะเป็นภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์
อย่างไรก็ตามด้วยความที่คิลปินเป็นคนช่างสังเกตุและสนใจใคร่รู้สิ่งใหม่ๆเลยมีศิลปินบางคนที่พยายามที่จะนำงานภาพถ่ายมาสร้างเป็นงานศิลปะไม่ว่าจะเป็น Qscar Rejlander ที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น ในสมัยแรกๆการถ่ายภาพแบบดาแกร์โรพท์ไม่สามารถตกแต่งภาพและ นำมาพิมพ์ใหม่ได้  จึงไม่เป็นที่นิยมในารนำมาสร้างงานศิลปะ ศิลปินมักจะใช้ระบบกระดาษ จนเกิดการพัฒนา wet plate ศิลปินจึงเปล่ียนมาใช้กระบวนการนี้ทันทีเพราะมีคุณภาพที่ดีกว่า  อย่างไรก็ตามในยุคแรก wet plate มักจะมีปัญหากับสีนำ้เงินคือไม่มีประสิทธิภาพมาก ในโทนนำ้เงินทำ ให้ภาพท้องฟ้ามักขาวเมื่อถ่ายภาพศิลปินจึงซ้อนภาพท้องฟ้าที่ถ่ายด้วยเวลามากขึ้นตามลงไปที่หลังด้วยความที่การถ่ายภาพต้องใช้เวลามากในการบันทึกและการใช้พื้นที่ในการบันทึกภาพเป็นสิ่งที่ยุ่งยากในการควบคุม ดังน้ันการซ้อนภาพจากหลายๆเพลทจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ดังที่เราทราบกัน ในงานTWO WAY OF LIFE ของ Qscar Rejlander ที่ใช้มากกว่า 30 เพลทในการสร้างภาพขนาดกว้าง 31 นิ้ว
ศิลปินในยุคแรกมองการสร้างงานศิลปะภาพถ่ายให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับภาพวาดโดยเฉพาะภาพในยุคrenaissanceศิลปินในยุคนั้นบางคนถึงกับเสนอแนะให้ช่างภาพโฟกัสภาพให้เบลอเล็กน้อยเพื่อลดความคมชัดทำให้ภาพนุ่มเหมือน ภาพเขียน
ในส่วนของการสร้างภาพจะมีการจัดวางอย่างปราณีตราวกับเป็นการสร้าง ฉากของละครเวทีทำเกิดความงามขององค์ประกอบในหน้าฉากนั้นผู้ชมจะสัมผัสกับภาพในแนวระนาบที่ไม่มีความลึกมากนักแบบละครเวที    ที่เรียกว่า Tableaux velvant  ซึ่งก็สอดคล้องกับการแบบในภาพต้อง แสดงท่าทางหยุดนิ่งอย่างน้อย 20วินาทีถึง 1นาที ภาพจึงจะมีความคมชัดสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นรูปแบบหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพถ่ายในเวลาต่อมา ในส่วนของเรื่องราวของภาพถ่ายส่วนจะเรื่องของเทพนิยาย เรื่องราวทางศาสนา,วีรบุรุษ หรือบทละครของเชคเสปียร์ และยังรวมไปถึงการได้รับอิทธิผลของภาพวาดครอบครัวของชนชั้นสูงที่มีการแสดงอารมณ์แบบสบายๆ อีกด้วย

James Elliot, Quite a Hopeless case, c 1856 hand colour stereograph. V&A Museum London
เป็นภาพที่แสดงการการจัดวางองค์ประกอบต่างๆในภาพที่มีลักษณะใกล้เคียงกับละครเวที ภาพจะได้อิทธิพลมาจากภาพเขียนที่มีเรื่องราวในเชิงจริยธรรม


Don Quixote in His Study, 1857
William Lake Price (British, 1810–1896)
Albumen silver print from glass negative; 12 9/16 x 11 in. (31.9 x 28 cm)
Gift of A. Hyatt Mayor, 1969 (69.635.1) (www.metmuseum.org)
ภาพของ William lake price สร้างจาก เรื่อง ดอน กีย์โฮเต้ เป็นตัวอย่าง ที่ช่างภาพใช้อุปกรณ์ประกอบฉากโดยพยามให้เหมือนกับฉากในนวนิยายมากที่สุด

Note: ภาพ ของ TWO WAY OF LIFE ของ Qscar Rejlander เป็นตัวอย่างที่ดี ของ Tableaux velvant  ที่กลุ่มของคนในภาพล้วนแสดงออกมาโดย มีการวางจุดเด่นที่ตรงกลาง แล้วปล่อยให้เนื้อหาทั้งหมดปรากฏอยู่ตรงหน้าเหมือนกับยืนอยู่หน้าฉากเวทีละคร  ใช้การซ้อนภาพและใช้การวาดเติมนำ้หนักในภาพบ้าง นอกจากนี้เขายั้งได้รับ แรงบันดาลใจในการวางองค์ประกอบและเรื่องของแสงจาก ภาพเขียน renaissance อีกด้วย
Henry peach Robinson (1830-1901) จิตรกรและช่างภาพ เขาได้ศึกษาการประกอบและซ้อนภาพจากหลายๆเนคกาทีฟจาก Qscar Rejlander  ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานในสตูดิโอ เขาได้ทดลองสร้างภาพที่ผสมกันระหว่าง ภาพที่วาดด้วยมือกับภาพถ่าย  เป็นวิธี การเตรียมภาพร่างเพื่อให้ภาพที่จะถ่ายภาพออกมาสมบูรณ์ที่สุด
นอกจากนี้เขายังใช้การร่างภาพอย่างละเอียดเพื่อเป็นการ จัดว่างองค์ประกอบให้ลงตัวตามที่คิดไว้ อย่างละเอียด
เขาหลงใหลการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ภาพของเขาพยายามที่จะแสดงอารมณ์  ที่สะเทือนใจให้กับผู้ชม ดังเช่นในภาพ  Feding away  ที่นำเสนออารมณ์เศร้าโศกของการ ครอบครัวที่กำลังจะสูญเสีย บุตรสาว

ภาพเมื่อเผยแพร่ออกไปทำให้เกิดการความสังสัยถึงความเป็นจริงในภาพซึ่งโรบินสันได้ออกมาแจ้งว่าภาพเป็นการสร้างขึ้น  หาได้เกิดขึ้นจริงไม่  ภาพนี้สร้างจากการถ่ายภาพทั้งหมด 5เนคกาทีฟ ใช้ภาพบรรยากาศรวมๆที่ถ่ายการสร้างฉากขึ้น และเตรียมนักแสดงแบบเข้าฉากในแต่ละส่วน เพื่อการบันทึกภาพ
  อย่างไรก็ตาม โรบินสันได้ทดลองสร้างภาพ"She Never Told Her Love," ขึ้นมาก่อนหน้านี้ เป็นภาพที่แสดงอารมณ์ เศร้าโศกของหญิงสาว ที่กำลังจะจากไป   ภาพจะเน้นให้ผู้ชมสะเทือนใจกับอารมณ์ในภาพเป็นสำคัญ
"She Never Told Her Love," 1857Henry Peach Robinson (British, 1830–1901)
Albumen silver print from glass negative; 7 1/16 x 9 1/8 in. (18 x 23.2 cm)
Gilman Collection, Purchase, Jennifer and Joseph Duke Gift, 2005 (2005.100.18)ภาพจาก www.metmuseum.org
ภาพของโรบินสัน มักจะแสดงอารมณ์โดยใช้การแสดงทางสีหน้าของแบบ การจัดวางและการใช้นำ้หนักของแสงเป็นหลัก ได้รับอิทธิพลจากงานจิตรกรรมในกลุ่ม Pre-Raphaelites[1]  ที่เพื่องฟูในอังกฤษ

ในภาพ  The Lady ofShalot(1861) เขาใช้เนื้อหาเรื่องราวและพยายามจัดวางองประกอบภาพให้ใกล้เคียงกับภาพวาด Ophelia โดย John Evereet Millais มากที่สุด
Henry peach Robinson ได้สร้างงานไว้เป็นจำนวนมาก เขาเชื่อว่าภาพควรแสดงอารมณ์ออกมาเพื่อโน้มน้าวผู้ชมให้คล้อยตามอารมณ์ของภาพนั้นๆ งานเขียน Pictorial Effect in Phtography กลายเป็นมาตรฐานให้กับแนวทางการถ่ายภาพ ตลอดศษตวรรษที่ 19 ทำให้ภาพแนว Pictorial ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในฐานะงานศิลปะภาพถ่ายเช่นกัน



[1] Pre-Raphaelites เป็นกลุ่มศิลปิน อังกฤษที่เชื่อว่า ควรนำแนวทางการสร้างงานจิตกรรมที่มีการจัดวางอย่างงดงามแต่ซับซ้อนสีสรรสดและมีรายละเอียดมากในงาน มากกว่าที่จะใช้รูปแบบคลาสิคทีได้รับอิธทิพลของ ราฟาเอลและไมเคิลแองเจลโล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น